ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
1. ประพจน์
ประพจน์ คือ ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่มีค่าความจริงเป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
ตัวอย่าง
ประโยคที่เป็นประพจน์
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ (จริง)
จังหวัดลพบุรีไม่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย (จริง)
5 ≠ 8 (จริง)
19 + 4 ≠ 23 (เท็จ)
π เป็นจำนวนตรรกยะ (เท็จ)
ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์
ได้แก่ ข้อความที่อยู่ในรูปของ คำถาม คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำอ้อนวอน คำแสดงความปรารถนา สุภาษิตคำพังเพย ประโยคเปิด เพราะข้อความดังกล่าวไม่สามารถบอกค่าความจริงได้
ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์
คำถาม เช่น 3 หารด้วย 2 มีค่าเท่าไร
คำสั่ง เช่น จงยืนขึ้น
คำขอร้อง เช่น ช่วยกันรักษาความสะอาด
คำอ้อนวอน เช่น โปรดเมตตาด้วยเถิด
คำแสดงความปรารถนา เช่น อยากเห็นหน้าเธออีกสักครั้ง
คำอุทาน เช่น โอ้ย
สุภาษิตคำพังเพย เช่น วัวหายล้อมคอก
ประโยคเปิด เช่น เขาเป็นนักกีฬา
.....................................................................................................................
ตัวอย่าง
ประโยคที่เป็นประพจน์
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ (จริง)
จังหวัดลพบุรีไม่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย (จริง)
5 ≠ 8 (จริง)
19 + 4 ≠ 23 (เท็จ)
π เป็นจำนวนตรรกยะ (เท็จ)
ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์
ได้แก่ ข้อความที่อยู่ในรูปของ คำถาม คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำอ้อนวอน คำแสดงความปรารถนา สุภาษิตคำพังเพย ประโยคเปิด เพราะข้อความดังกล่าวไม่สามารถบอกค่าความจริงได้
ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์
คำถาม เช่น 3 หารด้วย 2 มีค่าเท่าไร
คำสั่ง เช่น จงยืนขึ้น
คำขอร้อง เช่น ช่วยกันรักษาความสะอาด
คำอ้อนวอน เช่น โปรดเมตตาด้วยเถิด
คำแสดงความปรารถนา เช่น อยากเห็นหน้าเธออีกสักครั้ง
คำอุทาน เช่น โอ้ย
สุภาษิตคำพังเพย เช่น วัวหายล้อมคอก
ประโยคเปิด เช่น เขาเป็นนักกีฬา
.....................................................................................................................
2. การเชื่อมประพจน์
ถ้าให้ p และ q เป็นประพจน์ เมื่อนำประพจน์มาเชื่อมกันด้วยตัวเชื่อมแล้ว เราเรัยกประพจน์ใหม่ว่า ประพจน์เชิงประกอบ ซึ่งตัวเชื่อมที่ใช้จะมี 5 ตัว คือ
1) ตัวเชื่อม และ ใช้สัญลักษณ์ คือ " ∧ "
2) ตัวเชื่อม หรือ ใช้สัญลักษณ์
คือ " ∨ "
3) ตัวเชื่อม ถ้า... แล้ว... ใช้สัญลักษณ์ คือ " → "
4) ตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ ใช้สัญลักษณ์
คือ " ↔ "
5) ตัวเชื่อม นิเสธ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย " ~ "
5) ตัวเชื่อม นิเสธ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย " ~ "
ตารางค่าความจริงของตัวเชื่อม
ข้อสังเกต
1) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ " ∧ " จะเป็น T เมื่อ p และ q เป็น T ทั้งคู่
2) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม หรือ " ∨ " จะเป็น F เมื่อ p และ q เป็น F ทั้งคู่
3) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ถ้า... แล้ว... " → " จะเป็น F เมื่อ p เป็น T และ q เป็น F
4) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ " ↔ " จะเป็น T เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน
.....................................................................................................................
3. การสร้างตารางค่าความจริง
กำหนด p , q , r เป็นประพจน์ที่ไม่ได้กำหนดค่าความจริงมาให้ จะเรียกประพจน์ที่มีตัวเชื่อมว่า รูปแบบประพจน์ เช่น ~p , p ∧ q , p → q , ( p ∨ q ) ↔ r เป้นต้น
ในการหาค่าความจริงของรูปแบบประพจน์ จะต้องพิจารณาค่าความจริงที่เป็นไปได้ของประพจน์ย่อยทุกกรณี โดยการสร้างตารางค่าความจริง
จำนวนกรณีที่พิจารณา = 2n กรณี
เมื่อ n คือ จำนวนประพจน์ย่อยของรูปแบบประพจน์นั้น
.....................................................................................................................
กำหนด p , q , r เป็นประพจน์ที่ไม่ได้กำหนดค่าความจริงมาให้ จะเรียกประพจน์ที่มีตัวเชื่อมว่า รูปแบบประพจน์ เช่น ~p , p ∧ q , p → q , ( p ∨ q ) ↔ r เป้นต้น
ในการหาค่าความจริงของรูปแบบประพจน์ จะต้องพิจารณาค่าความจริงที่เป็นไปได้ของประพจน์ย่อยทุกกรณี โดยการสร้างตารางค่าความจริง
จำนวนกรณีที่พิจารณา = 2n กรณี
เมื่อ n คือ จำนวนประพจน์ย่อยของรูปแบบประพจน์นั้น
.....................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น